เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าวิริยพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ... ชื่อว่าสติพละ
เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ... ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะมีสภาวะ
ไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะมีสภาวะไม่หวั่นไหวเพราะ
อวิชชาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะตั้งมั่นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าธัมมวิจย-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะเลือกเฟ้นธรรม ... ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะมี
สภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าปีติสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะแผ่ไป ... ชื่อว่าปัสสัทธิ-
สัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะสงบ ... ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะไม่
ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะพิจารณาควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ เพราะมีสภาวะเห็นควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะมี
สภาวะตรึกตรอง ... ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะมีสภาวะกำหนด ... ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ
เพราะมีสภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมีสภาวะผ่องแผ้ว ... ชื่อว่า
สัมมาวายามะ เพราะมีสภาวะประคองไว้ ... ชื่อว่าสัมมาสติ เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ...
ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่านควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าพละ เพราะมีสภาวะไม่
หวั่นไหว ... ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะมีสภาวะนำออก ... ชื่อว่ามรรค เพราะมีสภาวะ
เป็นเหตุ ... ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะมีสภาวะตั้งมั่น ... ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะมี
สภาวะดำรงไว้ ... ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะมีสภาวะสำเร็จ ... ชื่อว่าสัจจะ เพราะมี
สภาวะเป็นของแท้ ... ชื่อว่าสมถะ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าวิปัสสนา
เพราะมีสภาวะพิจารณาเห็น ... ชื่อว่าสมถะและวิปัสสนา เพราะมีสภาวะมีรสเป็น
อย่างเดียวกัน ... ชื่อว่าธรรมที่เป็นคู่กัน เพราะมีสภาวะไม่ล่วงเลยกันควรรู้ยิ่ง
ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะมีสภาวะสำรวมควรรู้ยิ่ง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
มีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน ... ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะมีสภาวะเห็น ... ชื่อว่าวิโมกข์ เพราะ
มีสภาวะหลุดพ้น ... ชื่อว่าวิชชา เพราะมีสภาวะรู้แจ้ง ... ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :27 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 1. ญาณกถา 1. สุตมยญาณนิทเทส
สภาวะสละ ... ชื่อว่าญาณในความสิ้นไป เพราะมีสภาวะตัดขาด ... ชื่อว่าอนุปปาท-
ญาณ1 เพราะมีสภาวะสงบระงับควรรู้ยิ่ง
[20] ชื่อว่าฉันทะ เพราะมีสภาวะเป็นมูลควรรู้ยิ่ง ชื่อว่ามนสิการ เพราะมี
สภาวะเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าผัสสะ เพราะมีสภาวะประมวลมา ... ชื่อว่าเวทนา
เพราะมีสภาวะประชุม ... ชื่อว่าสมาธิ เพราะมีสภาวะเป็นประธาน ... ชื่อว่าสติ
เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ... ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้น ...
ชื่อว่าวิมุตติ เพราะมีสภาวะเป็นแก่นสาร ... ชื่อว่าธรรมที่หยั่งลงสู่อมตะคือนิพพาน
เพราะมีสภาวะเป็นที่สุดควรรู้ยิ่ง
ธรรมใด ๆ ที่รู้ยิ่งแล้ว ธรรมนั้น ๆ ก็เป็นอันรู้แล้ว ชื่อว่าญาณ เพราะมี
สภาวะรู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะมีสภาวะรู้ชัด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับ
มานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ (ญาณในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมา) (1)
ทุติยภาณวาร จบ

[21] การทรงจำธรรมที่ได้สดับมาว่า “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้” ปัญญา
รู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่าสุตมยญาณ เป็นอย่างไร คือ
ธรรม 1 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ ผัสสะซึ่งมีอาสวะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน
ธรรม 2 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ นาม 1 รูป 1
ธรรม 3 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ เวทนา 3
ธรรม 4 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อาหาร 4
ธรรม 5 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อุปาทานขันธ์ 5
ธรรม 6 อย่างที่ควรกำหนดรู้ คือ อายตนะภายใน 6

เชิงอรรถ :
1 อนุปปาทญาณ หมายถึงญาณในอริยผล (ขุ.ป.อ. 1/19/117)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :28 }